วันนี้เราจะมาเปรียบเทียบการใช้あいづちของเราระหว่างก่อนหน้านี้ที่ไม่注目กับมัน กับหลังจากที่เรียนอย่างจริงจังและรู้ตัวว่าตัวเองควรแก้ไขปรับปรุงตัวเองอย่างไรนะคะ
before
เราจะไม่พูดเรื่องเนื้อเรื่องนะคะว่าเพื่อนเล่าอะไรให้ฟัง แต่ก่อนหน้าที่จะมี意識เรื่องあいづちระหว่างฟังเพื่อนเล่าเนี่ย เราไม่พูดอะไรเลยแม้แต่คำเดียวค่ะ นั่งฟังเพื่อนเล่าจนจบแบบเงียบๆ ฮ่าๆๆๆๆ นับว่าเป็นผู้ฟังที่แย่มากสำหรับคนญี่ปุ่นนะคะ เพราะการเป็นผู้ฟังที่ดีเราต้องเล่นใหญ่ค่ะ ต้องมีあいづち ต้องรู้ว่าจุดไหนควรพูดหรือไม่ควรพูดあいづち ไม่ใช่ว่าพูดแทรกไปตลอดเวลา เราพูดあいづちเพื่อให้การสนทนาราบรื่น ไม่ใช่ทำให้สะดุดหรือแย่ลงนะคะ
http://www.stample.net/stamp/49907
คราวนี้เราจดจ่อกับการต้องเติมあいづちเลยค่ะ เพราะเรียนมาแล้ว ลองมาดูกันว่าเราทำได้ดีขึ้นไหม
ある日、女の人が(うーん)空港で、えーと、知り合いを外国にとか行った人を見送りに行って(うーん)その女が立っているところはゲート30のところで飛行機が飛んで行って、その女の人が、えーと、手を振っている。(えー)それから、その女の人が家に帰って、(うん)そして、テレビを見て、(うん)なんか、その中のニュースはさっきの友達が乗った飛行機が、えーと、土に落ちて、(へえ)パート(へえ)そして、まあ、残存者がいるかどうか分からないけど、その飛行機はボロボロの状態だ。(うん)その女の人はそのニュースを見て、唖然として、泣き出した。(うーん、かわいそうね)
ตรงที่เราไฮไลท์สีแดงในวงเล็บคือあいづちของเราค่ะ จะเห็นได้ว่ามันเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากครั้งแรกที่ไม่มีเลย เราไม่มั่นใจว่าเราแทรกโดยไม่ขัดผู้พูดรึเปล่า แต่เราก็พยายามแทรกตรงที่ควรแสดงความรู้สึกออกมา
เรื่องที่เพื่อนเราเล่าคราวนี้เกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่งไปส่งคนรู้จักที่สนามบิน พอกลับบ้านเห็นข่าวเครื่องบินลำนั้นตก เลยตกใจและร้องไห้ออกมา
จุดที่ควรเติมあいづちแน่ๆเลยคือตรงที่เห็นข่าวว่าเครื่องบินตกค่ะ เราควรแสดงความตื่นเต้นตกใจออกมา ฮ่าๆๆ ส่วนจุดอื่นๆคงต้องค่อยๆฝึกกันไปให้มันธรรมชาติมากกว่านี้
"あいづちเพื่อให้การสนทนาราบรื่น ไม่ใช่ทำให้สะดุดหรือแย่ลง" อันนี้เห็นด้วยเลย
ตอบลบเราว่าถ้าใช้เยอะไปอาจจะทำให้คนพูดสะดุดด้วย เรื่องタイミングยากเนาะ
ฝึกฟัง Native Speaker พูดเยอะๆน่าจะทำให้ชินเรื่องเวลาการใช้ ใช้เป็นธรรมชาติมากขึ้นเนาะ
เกลียดประโยค"เราต้องเล่นใหญ่"จัง555 แต่ก็จริงอะนะ เล่นใหญ่แล้วมัน盛り上がるดี พอไม่มี相槌แล้วมันดูไม่ใช่ภาษาญี่ปุ่นจริงๆแหละนะ5555
ตอบลบ