วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

水泳用語を学ぼう2

หลังจากคราวที่แล้วเราได้เรียนรู้คำศัพท์ทางการว่ายน้ำไปคร่าวๆแล้ว วันนี้เราก็จะมาเรียนรู้คำอื่นๆเพิ่มนะคะ แต่ก่อนอื่นเรามาต่อเรื่องความรู้พื้นฐานกันก่อนดีกว่า นอกจากการแข่งขันทั้งหมดสี่ท่าและอีกท่าพิเศษคือท่าเดี่ยวผสมแล้ว การแข่งว่ายน้ำก็มีรายการแข่งผลัดอีกด้วย บางคนอาจสงสัยว่าว่ายน้ำแข่งผลัดกันยังไง เพราะว่ายน้ำไม่เหมือนวิ่งที่ส่งไม้ให้กันต่อได้ 

การแข่งผลัดของว่ายน้ำก็มีผู้แข่งขันทีมละสี่คน วิธีการส่งต่อให้ผู้ว่ายคนต่อไปคือ คนที่ว่ายก่อนหน้าจะต้องว่ายจนมือแตะขอบสระแล้ว ผู้ว่ายคนต่อไปจึงจะกระโดดออกจากแท่นว่ายน้ำข้างบนได้ โดยจะมีกรรมการแต่ละลู่คอยตรวจสอบว่าผู้แข่งขันคนต่อไปกระโดดจากแท่นหลังจากคนก่อนหน้าว่ายจนมือแตะขอบสระจริงหรือไม่ หากพบว่ากระโดดก่อนจะถือว่าแพ้ฟลาวไปค่ะ โดยการแข่งผลัดก็จะมีสองประเภทคือผลัดฟรีสไตล์และผลัดผสม ผลัดฟรีสไตล์ก็ตามชื่อเลยคือทุกคนจะว่ายท่าฟรีสไตล์ ส่วนผลัดผสมคือทั้งสี่คนจะว่ายคนละท่า คล้ายเดี่ยวผสม แต่คราวนี้ช่วยกันแข่งสี่คน แต่ลำดับการเรียงท่าจะไม่เหมือนกับเดี่ยวผสม โดยคนแรกคือคนว่ายกรรเชียง กบ ผีเสื้อ และ ฟรีสไตล์ตามลำดับค่ะ

ウォーミングアップ  การวอร์มร่างกายให้พร้อมก่อนการแข่งขัน ทำให้ร่างกายอบอุ่น กล้ามเนื้อ ข้อต่อพร้อม ทำให้ไม่เกิดการบาดเจ็บระหว่างแข่งขัน

ウエイトトレーニング [Weight-training]  การยกบาร์เบล ใช้เครื่องออกกำลังกายหรืออุปกรณ์ที่ทำให้กล้ามเนื้อใหญ่และแข็งแรงขึ้น

遠泳 [Swimming marathon]   การแข่งขันว่ายน้ำมาราธอน อาจแข่งเป็นกลุ่มโดยไม่มีแบ่งลู่หรือแข่งแบบแบ่งลู่รายคนก็ได้ เช่น การแข่งขันว่ายน้ำห้าพันเมตร เป็นต้น

エムアール (MR)เป็นตัวย่อของメドレーリレー(Medley-relay)โดยเอาเฉพาะตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวหน้ามา

オープンウォータースイミング [Open water swimming]  การแข่งขันว่ายน้ำนอกสระว่ายน้ำ เช่น ทะเล แม่น้ำ มักเป็นการแข่งขันระยะยาว เช่น ว่ายห้ากิโล ว่ายสิบกิโล

オープンターン(オープンターン)  การว่ายน้ำที่ต้องเอามือแตะขอบสระ เช่น ท่ากบและผีเสื้อ ที่มีการบังคับว่าต้องแตะขอบสระด้วยสองมือ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าฟลาว

折り返し(オリカエシ)  การถีบขาออกจากขอบสระเพื่อว่ายไปยังทิศทางที่ต้องการ การพลิกกลับตัว

キック(キック)  การเตะขา เพื่อฝึกกล้ามเนื้อขา ส่วนใหญ่ไม่ใช้มือช่วย มีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การใส่ฟิน การจับคิกบอร์ด

クイックターン(クイックターン)  การตีลังกากลับตัวในท่าฟรีสไตล์และกรรเชียง

けのび   เมื่อถีบตัวออกจากขอบสระแล้วยืดขาออกเพื่อให้เคลื่อนที่ได้ไวและไม่ต้านน้ำ เป็นเทคนิคชนิดหนึ่ง

呼吸 [Breath]  การยกหน้าขึ้นมาหายใจเพื่อสูดอากาศ

国際水泳連盟 [Federation Internationale de Natation]   หรือเรียกสั้นๆว่าFINA คือสหพันธ์ว่ายน้ำระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกกฎเกณฑ์และกฎระเบียบต่างๆในการแข่งขันว่ายน้ำที่ได้รับการยอมรับ

公認プール  สระว่ายน้ำที่ได้มาตรฐาน คือสระที่มีขนาด25เมตรและ50เมตร

公認大会  การแข่งขันว่ายน้ำที่ได้รับการรับรอง ดังนั้นสถิติที่ได้จากการแข่งขันถือว่าเป็นสถิติที่ได้รับการรับรองและนำไปใช้พิจารณาต่างๆได้ เช่น พิจารณาเข้าร่วมแข่งขันซีเกมส์

サイドキック  การตะแคงข้างเตะขา เป็นการฝึกฝนว่ายน้ำรูปแบบหนึ่ง

シーズンオフ [Off season]  ช่วงหยุดพักของการซ้อมและการแข่งขัน

スタイル・ワン ท่าที่นักว่ายน้ำแต่ละคนถนัดที่สุด

ลู่ที่ใช้ในการแข่งขันทั้งหมด8ลู่


http://m.online-station.net/entertainment/story/332

ภาพการแข่งขันว่ายผลัด



https://www.sportskeeda.com/swimming/does-the-problem-of-free-riding-exist-in-swimming

ภาพการตีลังกากลับตัวจากขอบสระท่าฟรีสไตล์

https://swimminglessonsideas.com/2014/04/01/how-to-teach-flip-turns/








水泳用語を学ぼう1

สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้เรามีคำศัพท์เฉพาะทางว่ายน้ำมาฝาก เนื่องจากเราเคยเป็นนักกีฬาว่ายน้ำ และพอจะรู้คำศัพท์เหล่านี้ในภาษาอังกฤษ แต่สำหรับภาษาญี่ปุ่นเราแทบจะไม่รู้อะไรเลย ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ในการแข่งขันว่ายน้ำ จะมีท่าว่ายน้ำทั้งหมด4ท่า คือ ฟรีสไตล์ ผีเสื้อ กรรเชียง กบ และจะมีการแข่งขันรายการที่เรียกว่า individual medley หรือเรียกสั้นๆว่า IM หรือภาษาไทยคือ เดี่ยวผสม ซึ่งในรายการนี้นักกีฬาคนเดียวจะว่ายทั้งสี่ท่า เรียงเป็นลำดับคือ ผีเสื้อ กรรเชียง กบและฟรีสไตล์ 

アイエム・リバース การว่ายท่าเดี่ยวผสมแบบย้อนกลับจากฟรีสไตล์ กบ กรรเชียง ผีเสื้อ

アイエム・レギュラー(アイエム・オーダー) การว่ายท่าเดี่ยวผสมเรียงตามท่าปกติ


あおり足 การยืดข้อเท้าในระหว่างที่เตะขากบ ทำให้เตะขาลำบากขึ้น


アクセントキック ตอนที่ว่ายน้ำยืดแขนข้างนึงออกไปแล้วเตะขาด้านตรงข้ามลง ส่วนขาข้างเดียวกันให้เตะขาขึ้น 


足ヒレ หรือในภาษาอังกฤษเรียกกันว่าฟิน ภาษาไทยคือตีนกบ เป็นอุปกรณ์ใช้ในการฝึกซ้อมว่ายน้ำ


アップダウン เป็นศัพท์ใช้เรียกลักษณะตอนฝึกว่ายน้ำแรกๆที่เอาหัวมุดน้ำและโผล่จากน้ำเพื่อหายใจ


IOC 国際オリンピック委員会คำย่อของคณะกรรมการโอลิมปิก


アームヘルパー อุปกรณ์ใส่แขนเด็กเพื่อให้เด็กเล็กๆลอยตัวในน้ำได้


アンカー   โดยปกติแล้วแปลว่าสมอ แต่ทางว่ายน้ำใช้เรียกคนสุดท้ายในทีมผลัด


板キック การจับโฟมหรือที่เรียกว่าkick boardแล้วเตะขา


インターカレッジ 日本学生選手権水泳競技大会คือการแข่งขันระหว่างมหาวิทยาลัยปีนึงจัดครั้งนึง


インターハイ การแข่งขันระหว่างโรงเรียนมัธยมปลาย ปีนึงจัดครั้งนึง


インターフェア การก่อกวนผู้เล่นคนอื่นก่อนจบการแข่งขัน


イメージトレーニング การเปลี่ยนทัศนคติจากด้านลบให้เป็นด้านดีก่อนการแข่งขัน


犬掻き การเตะขาคล้ายตอนสุนัขเดิน ใช้หลังเท้าเตะน้ำและเคลื่อนไหวมือและเท้าสลับกัน


浮き身 การทำให้อวัยวะส่วนใดส่วนนึงลอยขึ้นมาเหนือน้ำโดยไม่ได้ว่ายน้ำ


浮き具 อุปกรณ์ที่ช่วยให้ไม่จมน้ำ



fin


 https://www.kiefer.com/kiefer-silicone-training-swim-fins-products-875.php


kick board
http://swimming-infirmation.wikia.com/wiki/Kickboard



วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

目に浮かぶ描写

สวัสดีค่ะทุกคน กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ คราวนี้เราก็มีอะไรใหม่ๆมานำเสนออีกเช่นเคย นั่นก็คือการฝึกพรรณาเป็นภาษาญี่ปุ่นนั่นเองค่ะ การเขียนพรรณาภาษาญี่ปุ่นคือ描写文ซึ่งต่างจาก説明文ที่เป็นการเขียนอธิบายเฉยๆค่ะ แต่เมื่อเราต้องการพรรณาอะไรสักอย่างจุดประสงค์ของเราคือต้องการให้ผู้ฟังนึกภาพตามได้ เช่น การพรรณาภาพวิวทิวทัศน์ เวลาเล่าให้เพื่อนฟังว่าไปเที่ยวนู่นนี่มา เพื่อให้เพื่อนมีอารมณ์ร่วมไปกับเราจึงต้องพรรณาภาพทิวทัศน์ให้เห็นภาพชัดเจน

ในการฝึกพรรณาเป็นภาษาญี่ปุ่นครั้งนี้อาจารย์ได้ให้พรรณาภาพสามช่องจำนวนสองภาพ โดยผลัดกันพรรณากับเพื่อน เราต้องพยายามพรรณาภาพนั้นเพื่อให้เพื่อนนึกภาพตามภาพสามช่องที่เราเห็นให้ได้ ซึ่งผลการพรรณาของเราก็ทำให้เพื่อนเข้าใจตามภาพที่เราต้องการจะสื่อได้ แต่ทีนี้เรายังขาดการพรรณาเพื่อให้เพื่อนเห็นภาพชัดเจน เพราะภาพที่เราได้ค่อนข้างอธิบายยาก และเรายังไม่รู้วิธีการพรรณาในแบบของภาษาญี่ปุ่น และนี่คือภาพที่เราต้องพรรณาและเสียงที่เราถอดเทปมา


ある赤ちゃんは寝ている犬を見て、犬の背中に乗りたいと思いました。しかし、突然犬が起きてしまいました。そこて、犬の背中に乗れるように、その赤ちゃんは犬の逆の方向に行きました。しかし、その瞬間、犬も座り方を変えて、逆の方向に変えたので、赤ちゃんと犬はまたお互いに相手の顔を見ました。

อ่านแล้วเป็นยังไงบ้างคะ เพื่อนๆพอจะเข้าใจไหมถ้าไม่เห็นภาพ เราพยายามอธิบายนานมากๆเลยกว่าเพื่อนจะเข้าใจ ตามรูปนี้คือเด็กทารกเจอสุนัขกำลังหลับจึงคิดอยากขี่หลังสุนัขเล่น แต่จู่ๆสุนัขก็ตื่นขึ้นมา ทารกจึงอ้อมไปด้านหลังของสุนัขเพื่อจะได้ขี่หลังได้และสุนัขจะได้ไม่รู้ตัว แต่สุนัขเกิดคันตัวจึงเกาและเปลี่ยนท่านั่งหันหน้าไปทางตรงข้ามคือทางที่เคยนอนหันหลัง ทารกเมื่ออ้อมมาด้านหลังสุนัขแต่กลับเจอหน้าสุนัขเหมือนเดิมจึงเกิดตกใจ

จะเห็นได้ว่า แม้เราจะอธิบายให้เพื่อนฟังจนพอจะเข้าใจตามภาพได้แต่มันยังเห็นภาพไม่พอ และยังมีจุดที่เรานึกคำศัพท์ไม่ออก เช่น ตอนที่ทารกคลานอ้อมไปด้านหลังของสุนัข ตอนที่สุนัขกับเด็กบังเอิญหันหน้ามาเจอกันอีกแล้ว  และเราได้บรรยายตกหล่นไป เช่น ตอนที่สุนัขเกาและตอนที่เด็กเจอหน้าสุนัขอีกรอบจึงตกใจ หลังจากนั้นอาจารย์จึงได้แจกตัวอย่างที่คนญี่ปุ่นทำให้ดูว่าพวกเขาได้บรรยายภาพนี้อย่างไรบ้าง ซึ่งทำให้เราได้เรียนรู้ดังนี้

1. คำศัพท์ที่เราไม่รู้ เช่น ทารกคลานจะใช้คำว่า はいはいをする คำว่าทางด้านหลังคือ 後方 คำว่าประจันหน้ากันคือ顔を合わせるซึ่งเป็นคำที่เรารู้แล้วแต่นึกไม่ออก

2. รูปประโยคที่เราอธิบายไม่ได้คือ ทารกคลานไปทางด้านหลังของสุนัข はいはいをしながら、犬の後方へまわろうと、ぐるとまわります。สุนัขเปลี่ยนท่านอน 犬は向きを変えて横になっていた。

3. การพรรณาหรือบรรยายให้เห็นภาพในภาษาญี่ปุ่นจะมีเทคนิคการใช้表現ต่างๆ คือ
   3.1 文末表現 เช่นการใช้てしまう ดังประโยคนี้ 赤ちゃんと犬は顔を合わせてしまいます。
   3.2 複合動詞 คือการนำคำกริยาสองคำมรวมกัน ดังประโยคนี้ 犬の背中に回り込もうとします。
  3.3 オノマトペ คือคำเลียนเสียงธรรมชาติในญี่ปุ่น เช่น ぐると回る 

จะเห็นได้ว่าในการบรรยายหรือพรรณาสิ่งต่างๆ การทำให้ผู้ฟังเห็นภาพตามและมีความรู้สึกร่วมเป็นสิ่งสำคัญ และการเรียนรู้เทคนิครวมทั้งคำศัพท์ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันและนี่ก็เป็นกิจกรรมแรกที่อาจารย์ให้ลองฝึกทำในห้องเรียน ให้เรียนรู้จากการลองผิดลองถูกค่ะ

หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้ฝึกเขียน描写文ใหม่ โดยให้เราแต่งเรื่องเพิ่มเติมให้เห็นภาพยิ่งขึ้นจากเรื่องที่อาจารย์มีให้ เนื่องจากเวลามีน้อย เราเลยทำได้ไม่ค่อยเต็มที่ ตอนแรกๆแต่งอย่างละเอียดเพิ่มเรื่องราวให้เห็นภาพมากขึ้น แต่ตอนหลังๆเวลาใกล้หมด อาจารย์คอมเม้นท์ว่า ตอนแรกๆอธิบายละเอียดดีมาก แต่ตอนหลังๆจบเร็วไปนิดนึง ในการเขียนครั้งนี้เราได้เพิ่มเทคนิคต่างๆที่เรียนมาแล้วเช่นการใช้ていく、てくるซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ได้ง่ายกว่าเทคนิคอื่นๆ นอกจากนี้อาจารย์ได้ให้ดูตัวอย่างการเขียนต่างๆ10ผลงาน เพื่อเป็นการเรียนรู้วิธีการเขียนของเรื่องนั้นๆ และอาจารย์ได้สั่งการบ้านให้แต่งเรื่องเองโดยใช้เทคนิคต่างๆที่เรียนมาแล้ว

เรื่องที่เราแต่ง เราใช้โครงเรื่องจากเรื่องที่อาจารย์ให้อ่านชื่อเรื่องว่า 忘れられない出来事(自転車) ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนที่ปั่นจักรยานโดยประมาทจนเกือบตาย เราประทับใจเรื่องนี้เพราะคนเขียน เขียนให้เราเห็นภาพชัดมาก และมีความรู้สึกหวาดเสียวร่วมด้วย เราจึงนำเรื่องนี้มาแต่งต่อ เป็นเรื่องใหม่ชื่อว่า パラドックスの出来事 ครั้งแรกอาจารย์ให้เพื่อนๆในห้องช่วยกันวิจารย์ว่ามีจุดไหนดีและจุดไหนควรปรับปรุง ซึ่งสิ่งที่ควรปรับปรุงคือ ควรทำให้เห็นภาพมากกว่านี้อีก เราจึงแก้ไวยากรณ์และคำศัพท์ที่ไม่เหมาะสมนิดหน่อย และเพิ่มประโยคใหม่ลงไปเพียงประโยคเดียว ได้ดังนี้

「あ!、痛い!」目を覚ましたら、ある気持ちが沸き上がってきました。「さっき、何が起こったの?」自分に問いかけました。体を見ると、大怪我はしていないが、所々に青あざがあります。すると、忘れかけていた記憶が戻りました。私は自転車のスピードを速め、ものすごい勢いで坂を一気に駆け降りました。坂のちょうど一番下のところが十字路になっており、そこを駆け抜けようとしたときに、突然左側から小型トラックがものすごい勢いで走ってくるのが目に入りました。「あー、幸い!私、まだ生きている。」と考えながら、周りをきょろきょろ見ました。そのトラックがもうなくなりました。道路面にスリップ痕もつきませんでした。輪が抜け落ちて、目も当てられない自転車が路肩にあります。私はその壊れた自転車をそのまま捨てることをと決心しました。ゆっくり立って、ぐったりして家に歩いて帰りました。家に着いたけれど、母はまだ会社から帰っていませんでした。私は2階にある寝室に向かって歩きました。頭がフワフワ枕に沈んだら、つい寝てしまいました。気づいたら、チチチと鳴いている鳥の声が聞こえました。柔らかな光りは部屋に差し込んできました。私はそばに置いたスマホを取って見ると、もう午前7時でした。私は早くシャワーを浴びて、階下に下りました。食卓にはパンと目玉焼きとミルクが置いてあります。母はいつものように早朝から会社に行きました。私はその朝ごはんを全部食べ切っても、お腹がまだ空いたので、近所のコンビニでお弁当を買うことにしました。コンビニに行く途中に、本屋があります。私はその本屋を通る瞬間に、ふと今日の新聞を見かけました。すると、私は棒になるようにすごくショックを受けました。新聞には「トラックが自転車にぶつかった。高校生1人死亡!」と載っています。死亡者の顔と私の顔は同じ人のように似ています。疑いもなく、その死亡者はワタシ!私はどうしようもできず、泣き出しました。どのぐらい泣き続けたのか覚えていないけど、気がだんだん遠くなっていって…「あ!、痛い!」目を覚ましたら、ある気持ちが沸き上がってきました。「さっき、何が起こったんの?」自分に問いかけました。体を見ると、大怪我をしないが、所々に青あざがあります…

จุดที่เราไฮไลท์สีแดงคือประโยคที่เราเพิ่มเติมเข้ามาเพียงประโยคเดียว ซึ่งเราคิดว่าทำให้เห็นภาพมากขึ้นว่าผู้เล่าตื่นขึ้นมาในสถานที่เกิดเหตุตอนที่รถเกือบชน และสิ่งที่เราชอบในงานของเราคือ การหักมุมแล้วหักมุมอีก ตอนแรกคิดว่ารอดตาย สุดท้ายพบว่าตนเองตายแล้ว และสุดท้ายก็ไม่ตายอีก ทำให้ผู้อ่านต้องคิดหนักว่าสรุปแล้วตายหรือไม่ตายกันแน่ สำหรับเราคำตอบคือไม่ตายจ้า และครั้งล่าสุดนี้อาจารย์ก็ได้แก้ไวยากรณ์และคำศัพท์ให้เหมาะสม ดังนี้

「あ!、痛い!」目を覚ましたら、ある気持ちがふうふうと沸き上がってきました。「さっき、何が起こったの?」自分に問いかけました。体を見ると、大怪我はしていないが、所々に青あざがあります。すると、忘れかけていた記憶が戻ってきました。私は自転車のスピードを速め、ものすごい勢いで坂を一気に駆け降りました。坂のちょうど一番下のところが十字路になっており、そこを駆け抜けようとしたときに、突然左側から小型トラックがものすごい勢いで走ってくるのが目に入りました。「あー、幸い!私、まだ生きている。」と考えながら、周りをきょろきょろ見ました。そのトラックもうなくなりました。消えています。道路面にスリップ痕もつきませんでしたいていません輪が抜け落ちて、目も当てられない自転車が路肩にあります。私はその壊れた自転車をそのまま捨てることを決心しました。ゆっくり立って、ぐったりして家に歩いて帰りました。家に着いたけれど、母はまだ会社から帰っていませんでした。私は2階にある寝室に向かって歩きました。頭がフワフワした枕に沈んだら、つい寝てしまいました。気づいたら、チチチと鳴いている鳥の声が聞こえました。柔らかな光り部屋に差し込んできました。私はそばに置いたスマホを取って見ると、もう午前7時でした。私は早くシャワーを浴びて、階下に下りました。食卓にはパンと目玉焼きとミルクが置いてあります。母はいつものように早朝から会社に行きました。私はその朝ごはんを全部食べ切っても、お腹がまだ空いたいっぱいにならないので、近所のコンビニでお弁当を買うことにしました。コンビニに行く途中に、本屋があります。私はその本屋を通る瞬間に、ふと今日の新聞を見かけました。すると、私は棒になるようすごく強いショックを受けました。新聞には「トラックが自転車にぶつかった。高校生1人死亡!」と載っています。死亡者の顔と私の顔は同じ人であるかのように似ています。疑いもなく、その死亡者はワタシ!私はどうしようもできず、泣き出しました。どのぐらい泣き続けたのか覚えていないけど、気がだんだん遠くなっていって…「あ!、痛い!」目を覚ましたら、ある気持ちが沸き上がってきました。「さっき、何が起こったんの?」自分に問いかけました。体を見ると、大怪我をしないが、所々に青あざがあります…

สิ่งที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติม
1. เวลาเขียนประโยคยาวๆโดยใช้รูปようที่แปลว่าเหมือนควรเติมかเข้าไปหน้าよう
เช่น 死亡者の顔と私の顔は同じ人であるかのように似ています。
2. กริยาที่ใช้เวลาทำเพียงสั้นๆไม่ควรใช้รู้ていく、てくる เช่น 気づく
3. はจะไม่ใช่ในประโยคที่ไม่ใช่ประโยคสำคัญแต่เป็นเพียงประโยคเสริม เช่น
これからどうしようと思った時、.....................に気付きました。
ในประโยคนี้ควรใช้がมากกว่า เพราะประโยคหลักจริงๆคือประโยคข้างหลัง
4. こうใช้บอกสิ่งที่อยู่ข้างหน้า そうใช้บอกสิ่งที่อยู่ข้างหลัง




 



วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

チュラーの文学部

สวัสดีค่ะ ห่างหายไปนานเลยสำหรับการเขียนบล็อค แหะๆ ช่วงที่ผ่านมาเป็นช่วงสอบกลางภาคของจุฬา เลยวุ่นๆไปหน่อย 


วันนี้เรามีกิจกรรมดีๆของวิชา"Applied Japanese Linguistics" ที่เรากำลังเรียนอยู่ นั่นก็คือการเขียนแนะนำมหาวิทยาลัยหรือคณะอักษรศาสตร์นั่นเองค่ะ ข้อดีของกิจกรรมนี้มีหลายอย่าง ที่สำคัญที่สุดเลยคือการได้ฝึกพัฒนาทักษะภาษาญี่ปุ่นของตัวเอง โดยเป็นการเขียนที่ค่อนข้างทางการ จึงได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ และยังได้ทำความรู้จักกับคณะหรือมหาวิทยาลัยของเรามากขึ้นอีกด้วย


เราเลือกเขียนแนะนำคณะตัวเองค่ะ เริ่มแรกเลยเราลองเขียนแนะนำคณะตัวเองคร่าวๆก่อนเป็นภาษาไทย โดยหัวข้อที่เราเลือกคือเรื่องลักษณะเด่นของคณะอักษร โดยที่เราเน้นไปที่วิชาต่างๆและความเก่าแก่ของคณะ หลังจากนั้นเราจึงได้ลองเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นจำนวนไม่เกิน400ตัวอักษรดู นี่เป็นวิธีการเรียนการสอนในห้องอีกอย่างนึง ก็คือจะฝึกให้นิสิตได้ลองผิดลองถูกก่อนแล้วอาจารย์จะมาช่วยให้คำชี้แนะ ซึ่งแน่นอนว่าการที่อาจารย์ไม่ชี้แนวทางมาเลยตรงๆตั้งแต่แรกทำให้เด็กได้ลองทำด้วยตนเองก่อนและได้รู้ทักษะของตนเองรวมทั้งพัฒนาการของตนเองด้วย



การเขียนแนะนำคณะอักษรครั้งแรก ด้วยฝีมือของเราเอง

     チュラーロンコン大学の設立とともに4つの最初の学部が設置されました。文学部もその4つのうちの1つです。最初は文理学部と呼ばれていました。その後、二つの学部に分かれました。現在、文学部には、14の専攻があります。それはタイ語専攻、英語専攻、スペイン語専攻、イタリア語専攻、日本語専攻、中国語専攻、ドイツ語専攻、パーリ語専攻、フランス語専攻、歴史専攻、哲学専攻、演劇専攻、地理学専攻、そして、図書学専攻です。そのほか、21の副専攻があります。例えば、韓国語副専攻、言語学副専攻、ポルトガル語副専攻、ベトナム語副専攻、比較文化副専攻などです。さらに、文学部の必修科目は文学に関する多彩な科目を充実しています。自分がどの専攻を選択するべきか考えられるように、大学1年生が多彩な必修科目を勉強します。例えば、イントロドラムという演劇専攻の科目は、文学と演劇の関係を学ぶ科目です。



ครั้งสุดท้ายจากการแก้ไขไป2ครั้ง และได้รับคำแนะนำจากอาจารย์

  文学部には2つの特徴があります。それは古い歴史を持っていることと多彩な科目を提供していることです。

 文学部はチュラーロンコン大学の設立の時に設置された最初の4学部の中の1学部です。文学部は1917年に設立されたため、最も古い歴史を持っている1つの学部です。 

 もう1つの特徴は多彩な科目を提供していることです。現在、文学部には、14の専攻があります。例えば、英語専攻、日本語専攻、演劇専攻などです。そのほか、21の副専攻があります。例えば、言語学副専攻、比較文化副専攻などです。

 さらに、必修科目においては文学に関する多彩な科目を提供しています。自分がどの専攻を選択するべきか考えられるように、大学1年生が多くの必修科目を勉強します。例えば、イントロドラマという演劇専攻の科目は、文学と演劇の関係を学ぶ科目です。   

  このように、文学部には歴史の面と多彩な科目の面の2つの特徴があります。


     1.เมื่อลองเปรียบเทียบครั้งแรกที่ลองทำเองกับครั้งสุดท้ายที่ได้รับการแก้ไขมาอีกสองครั้ง ความแตกต่างแรกที่เห็นได้ชัดเลยคือ ครั้งแรกเราเขียนติดกันหมดมีย่อหน้าเดียวทำให้ดูลายตาแต่ครั้งสุดท้ายเราได้แบ่งเป็นสี่ย่อหน้าทำให้อ่านสบายตาขึ้น     

     2.ตอนเราทำไปครั้งแรกๆได้รับcommentจากอาจารย์มาว่าเราเขียนไม่ชัดเจนทำให้ไม่ค่อยเห็นถึงจุดประสงค์หลักในเรื่องที่เราเขียน ครั้งสุดท้ายเราจึงเพิ่มย่อหน้าแรกซึ่งเป็นการรวบรัดให้เห็นเลยว่าเราเขียนโดยเน้นจุดประสงค์อะไรและยังเขียนสรุปอีกครั้งนึงด้วย โดยย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้ายเลี่ยงการเขียนซ้ำกัน ไปใช้คำอื่นๆที่สื่อความหมายเหมือนเดิม

     3.เราได้ตัดส่วนที่ไม่จำเป็น เยิ่นเย้อทิ้ง นั่นก็คือ最初は文理学部と呼ばれていました。その後、二つの学部に分かれました。และตัดตัวอย่างของวิชาเอกและโทที่ทางคณะมีให้เลือก เพราะเราได้รับcommentว่ายกตัวอย่างมากเกินไป

     4.เมื่อเราตัดส่วนที่เยิ่นเย้อไม่จำเป็นออก เราก็มีเนื้อที่เหลือในการเขียนรายละเอียดสำคัญๆ ย่อหน้าที่สองในครั้งสุดท้ายเราได้เพิ่มประวัติของคณะเข้าไปคือ文学部は1917年に設立されたため、最も古い歴史を持っている1つの学部です。เพื่อเน้นย้ำถึงความเก่าแก่ของคณะซึ่งเป็นจุดประสงค์หนึ่งของเรื่อง โดยได้แยกส่วนนี้ออกมาเป็นย่อหน้าของตัวเองต่างหากเลย คือส่วนของย่อหน้าสอง

  5.ย่อหน้าที่สามและสี่เราเขียนเกี่ยวกับวิชาต่างๆของคณะซึ่งเป็นจุดประสงค์ที่สองคือวิชาที่มีให้เลือกเรียนอย่างหลากหลาย โดยในแต่ละย่อหน้าเราได้พัฒนาการเขียนให้ดูเชื่อมต่อกัน เช่นในย่อหน้าที่สามเราเริ่มต้นด้วย もう1つの特徴は多彩な科目を提供していることです。ซึ่งทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเรากำลังจะเปลี่ยนไปพูดเรื่องวิชาของอักษรแล้วนะ

 6.ส่วนอื่นๆก็เป็นจุดเล็กๆน้อยๆเช่นการแก้ไขไวยากรณ์หรือคำศัพท์ที่ใช้ผิด การทำรูปประโยคให้รวบรัดรวมสองประโยคเป็นหนึ่งประโยค เช่น ครั้งแรกเราเขียนว่า チュラーロンコン大学の設立とともに4つの最初の学部が設置されました。文学部もその4つのうちの1つです。ส่วนครั้งสุดท้ายเรารวบสองประโยคนี้ให้เป็นประโยคเดียว คือ文学部はチュラーロンコン大学の設立の時に設置された最初の4学部の中の1学部です。


สุดท้ายนี้เราอยากจะบอกว่าคนเราไม่สายที่จะพัฒนาตนเอง ถ้าเราฝึกฝนบ่อยๆรับรองว่าฝีมือต้องดีขึ้นแน่ และการฝึกเขียนลองผิดลองถูกก็เป็นอีกวิธีนึงที่เราแนะนำค่ะ


                                  https://sites.google.com/site/satnarak555/kartun-na-rak

before & after のあいづち

สวัสดีค่ะทุกคน นี่อาจเป็นการอัพบล็อคครั้งสุดท้ายแล้วนะคะ เพราะฤดูสอบปลายภาคได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว  ที่ผ่านมาจะเห็นว่าเราอัพเรื่องあいづちไป ซึ่งอาท...