วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

目に浮かぶ描写

สวัสดีค่ะทุกคน กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ คราวนี้เราก็มีอะไรใหม่ๆมานำเสนออีกเช่นเคย นั่นก็คือการฝึกพรรณาเป็นภาษาญี่ปุ่นนั่นเองค่ะ การเขียนพรรณาภาษาญี่ปุ่นคือ描写文ซึ่งต่างจาก説明文ที่เป็นการเขียนอธิบายเฉยๆค่ะ แต่เมื่อเราต้องการพรรณาอะไรสักอย่างจุดประสงค์ของเราคือต้องการให้ผู้ฟังนึกภาพตามได้ เช่น การพรรณาภาพวิวทิวทัศน์ เวลาเล่าให้เพื่อนฟังว่าไปเที่ยวนู่นนี่มา เพื่อให้เพื่อนมีอารมณ์ร่วมไปกับเราจึงต้องพรรณาภาพทิวทัศน์ให้เห็นภาพชัดเจน

ในการฝึกพรรณาเป็นภาษาญี่ปุ่นครั้งนี้อาจารย์ได้ให้พรรณาภาพสามช่องจำนวนสองภาพ โดยผลัดกันพรรณากับเพื่อน เราต้องพยายามพรรณาภาพนั้นเพื่อให้เพื่อนนึกภาพตามภาพสามช่องที่เราเห็นให้ได้ ซึ่งผลการพรรณาของเราก็ทำให้เพื่อนเข้าใจตามภาพที่เราต้องการจะสื่อได้ แต่ทีนี้เรายังขาดการพรรณาเพื่อให้เพื่อนเห็นภาพชัดเจน เพราะภาพที่เราได้ค่อนข้างอธิบายยาก และเรายังไม่รู้วิธีการพรรณาในแบบของภาษาญี่ปุ่น และนี่คือภาพที่เราต้องพรรณาและเสียงที่เราถอดเทปมา


ある赤ちゃんは寝ている犬を見て、犬の背中に乗りたいと思いました。しかし、突然犬が起きてしまいました。そこて、犬の背中に乗れるように、その赤ちゃんは犬の逆の方向に行きました。しかし、その瞬間、犬も座り方を変えて、逆の方向に変えたので、赤ちゃんと犬はまたお互いに相手の顔を見ました。

อ่านแล้วเป็นยังไงบ้างคะ เพื่อนๆพอจะเข้าใจไหมถ้าไม่เห็นภาพ เราพยายามอธิบายนานมากๆเลยกว่าเพื่อนจะเข้าใจ ตามรูปนี้คือเด็กทารกเจอสุนัขกำลังหลับจึงคิดอยากขี่หลังสุนัขเล่น แต่จู่ๆสุนัขก็ตื่นขึ้นมา ทารกจึงอ้อมไปด้านหลังของสุนัขเพื่อจะได้ขี่หลังได้และสุนัขจะได้ไม่รู้ตัว แต่สุนัขเกิดคันตัวจึงเกาและเปลี่ยนท่านั่งหันหน้าไปทางตรงข้ามคือทางที่เคยนอนหันหลัง ทารกเมื่ออ้อมมาด้านหลังสุนัขแต่กลับเจอหน้าสุนัขเหมือนเดิมจึงเกิดตกใจ

จะเห็นได้ว่า แม้เราจะอธิบายให้เพื่อนฟังจนพอจะเข้าใจตามภาพได้แต่มันยังเห็นภาพไม่พอ และยังมีจุดที่เรานึกคำศัพท์ไม่ออก เช่น ตอนที่ทารกคลานอ้อมไปด้านหลังของสุนัข ตอนที่สุนัขกับเด็กบังเอิญหันหน้ามาเจอกันอีกแล้ว  และเราได้บรรยายตกหล่นไป เช่น ตอนที่สุนัขเกาและตอนที่เด็กเจอหน้าสุนัขอีกรอบจึงตกใจ หลังจากนั้นอาจารย์จึงได้แจกตัวอย่างที่คนญี่ปุ่นทำให้ดูว่าพวกเขาได้บรรยายภาพนี้อย่างไรบ้าง ซึ่งทำให้เราได้เรียนรู้ดังนี้

1. คำศัพท์ที่เราไม่รู้ เช่น ทารกคลานจะใช้คำว่า はいはいをする คำว่าทางด้านหลังคือ 後方 คำว่าประจันหน้ากันคือ顔を合わせるซึ่งเป็นคำที่เรารู้แล้วแต่นึกไม่ออก

2. รูปประโยคที่เราอธิบายไม่ได้คือ ทารกคลานไปทางด้านหลังของสุนัข はいはいをしながら、犬の後方へまわろうと、ぐるとまわります。สุนัขเปลี่ยนท่านอน 犬は向きを変えて横になっていた。

3. การพรรณาหรือบรรยายให้เห็นภาพในภาษาญี่ปุ่นจะมีเทคนิคการใช้表現ต่างๆ คือ
   3.1 文末表現 เช่นการใช้てしまう ดังประโยคนี้ 赤ちゃんと犬は顔を合わせてしまいます。
   3.2 複合動詞 คือการนำคำกริยาสองคำมรวมกัน ดังประโยคนี้ 犬の背中に回り込もうとします。
  3.3 オノマトペ คือคำเลียนเสียงธรรมชาติในญี่ปุ่น เช่น ぐると回る 

จะเห็นได้ว่าในการบรรยายหรือพรรณาสิ่งต่างๆ การทำให้ผู้ฟังเห็นภาพตามและมีความรู้สึกร่วมเป็นสิ่งสำคัญ และการเรียนรู้เทคนิครวมทั้งคำศัพท์ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันและนี่ก็เป็นกิจกรรมแรกที่อาจารย์ให้ลองฝึกทำในห้องเรียน ให้เรียนรู้จากการลองผิดลองถูกค่ะ

หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้ฝึกเขียน描写文ใหม่ โดยให้เราแต่งเรื่องเพิ่มเติมให้เห็นภาพยิ่งขึ้นจากเรื่องที่อาจารย์มีให้ เนื่องจากเวลามีน้อย เราเลยทำได้ไม่ค่อยเต็มที่ ตอนแรกๆแต่งอย่างละเอียดเพิ่มเรื่องราวให้เห็นภาพมากขึ้น แต่ตอนหลังๆเวลาใกล้หมด อาจารย์คอมเม้นท์ว่า ตอนแรกๆอธิบายละเอียดดีมาก แต่ตอนหลังๆจบเร็วไปนิดนึง ในการเขียนครั้งนี้เราได้เพิ่มเทคนิคต่างๆที่เรียนมาแล้วเช่นการใช้ていく、てくるซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ได้ง่ายกว่าเทคนิคอื่นๆ นอกจากนี้อาจารย์ได้ให้ดูตัวอย่างการเขียนต่างๆ10ผลงาน เพื่อเป็นการเรียนรู้วิธีการเขียนของเรื่องนั้นๆ และอาจารย์ได้สั่งการบ้านให้แต่งเรื่องเองโดยใช้เทคนิคต่างๆที่เรียนมาแล้ว

เรื่องที่เราแต่ง เราใช้โครงเรื่องจากเรื่องที่อาจารย์ให้อ่านชื่อเรื่องว่า 忘れられない出来事(自転車) ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนที่ปั่นจักรยานโดยประมาทจนเกือบตาย เราประทับใจเรื่องนี้เพราะคนเขียน เขียนให้เราเห็นภาพชัดมาก และมีความรู้สึกหวาดเสียวร่วมด้วย เราจึงนำเรื่องนี้มาแต่งต่อ เป็นเรื่องใหม่ชื่อว่า パラドックスの出来事 ครั้งแรกอาจารย์ให้เพื่อนๆในห้องช่วยกันวิจารย์ว่ามีจุดไหนดีและจุดไหนควรปรับปรุง ซึ่งสิ่งที่ควรปรับปรุงคือ ควรทำให้เห็นภาพมากกว่านี้อีก เราจึงแก้ไวยากรณ์และคำศัพท์ที่ไม่เหมาะสมนิดหน่อย และเพิ่มประโยคใหม่ลงไปเพียงประโยคเดียว ได้ดังนี้

「あ!、痛い!」目を覚ましたら、ある気持ちが沸き上がってきました。「さっき、何が起こったの?」自分に問いかけました。体を見ると、大怪我はしていないが、所々に青あざがあります。すると、忘れかけていた記憶が戻りました。私は自転車のスピードを速め、ものすごい勢いで坂を一気に駆け降りました。坂のちょうど一番下のところが十字路になっており、そこを駆け抜けようとしたときに、突然左側から小型トラックがものすごい勢いで走ってくるのが目に入りました。「あー、幸い!私、まだ生きている。」と考えながら、周りをきょろきょろ見ました。そのトラックがもうなくなりました。道路面にスリップ痕もつきませんでした。輪が抜け落ちて、目も当てられない自転車が路肩にあります。私はその壊れた自転車をそのまま捨てることをと決心しました。ゆっくり立って、ぐったりして家に歩いて帰りました。家に着いたけれど、母はまだ会社から帰っていませんでした。私は2階にある寝室に向かって歩きました。頭がフワフワ枕に沈んだら、つい寝てしまいました。気づいたら、チチチと鳴いている鳥の声が聞こえました。柔らかな光りは部屋に差し込んできました。私はそばに置いたスマホを取って見ると、もう午前7時でした。私は早くシャワーを浴びて、階下に下りました。食卓にはパンと目玉焼きとミルクが置いてあります。母はいつものように早朝から会社に行きました。私はその朝ごはんを全部食べ切っても、お腹がまだ空いたので、近所のコンビニでお弁当を買うことにしました。コンビニに行く途中に、本屋があります。私はその本屋を通る瞬間に、ふと今日の新聞を見かけました。すると、私は棒になるようにすごくショックを受けました。新聞には「トラックが自転車にぶつかった。高校生1人死亡!」と載っています。死亡者の顔と私の顔は同じ人のように似ています。疑いもなく、その死亡者はワタシ!私はどうしようもできず、泣き出しました。どのぐらい泣き続けたのか覚えていないけど、気がだんだん遠くなっていって…「あ!、痛い!」目を覚ましたら、ある気持ちが沸き上がってきました。「さっき、何が起こったんの?」自分に問いかけました。体を見ると、大怪我をしないが、所々に青あざがあります…

จุดที่เราไฮไลท์สีแดงคือประโยคที่เราเพิ่มเติมเข้ามาเพียงประโยคเดียว ซึ่งเราคิดว่าทำให้เห็นภาพมากขึ้นว่าผู้เล่าตื่นขึ้นมาในสถานที่เกิดเหตุตอนที่รถเกือบชน และสิ่งที่เราชอบในงานของเราคือ การหักมุมแล้วหักมุมอีก ตอนแรกคิดว่ารอดตาย สุดท้ายพบว่าตนเองตายแล้ว และสุดท้ายก็ไม่ตายอีก ทำให้ผู้อ่านต้องคิดหนักว่าสรุปแล้วตายหรือไม่ตายกันแน่ สำหรับเราคำตอบคือไม่ตายจ้า และครั้งล่าสุดนี้อาจารย์ก็ได้แก้ไวยากรณ์และคำศัพท์ให้เหมาะสม ดังนี้

「あ!、痛い!」目を覚ましたら、ある気持ちがふうふうと沸き上がってきました。「さっき、何が起こったの?」自分に問いかけました。体を見ると、大怪我はしていないが、所々に青あざがあります。すると、忘れかけていた記憶が戻ってきました。私は自転車のスピードを速め、ものすごい勢いで坂を一気に駆け降りました。坂のちょうど一番下のところが十字路になっており、そこを駆け抜けようとしたときに、突然左側から小型トラックがものすごい勢いで走ってくるのが目に入りました。「あー、幸い!私、まだ生きている。」と考えながら、周りをきょろきょろ見ました。そのトラックもうなくなりました。消えています。道路面にスリップ痕もつきませんでしたいていません輪が抜け落ちて、目も当てられない自転車が路肩にあります。私はその壊れた自転車をそのまま捨てることを決心しました。ゆっくり立って、ぐったりして家に歩いて帰りました。家に着いたけれど、母はまだ会社から帰っていませんでした。私は2階にある寝室に向かって歩きました。頭がフワフワした枕に沈んだら、つい寝てしまいました。気づいたら、チチチと鳴いている鳥の声が聞こえました。柔らかな光り部屋に差し込んできました。私はそばに置いたスマホを取って見ると、もう午前7時でした。私は早くシャワーを浴びて、階下に下りました。食卓にはパンと目玉焼きとミルクが置いてあります。母はいつものように早朝から会社に行きました。私はその朝ごはんを全部食べ切っても、お腹がまだ空いたいっぱいにならないので、近所のコンビニでお弁当を買うことにしました。コンビニに行く途中に、本屋があります。私はその本屋を通る瞬間に、ふと今日の新聞を見かけました。すると、私は棒になるようすごく強いショックを受けました。新聞には「トラックが自転車にぶつかった。高校生1人死亡!」と載っています。死亡者の顔と私の顔は同じ人であるかのように似ています。疑いもなく、その死亡者はワタシ!私はどうしようもできず、泣き出しました。どのぐらい泣き続けたのか覚えていないけど、気がだんだん遠くなっていって…「あ!、痛い!」目を覚ましたら、ある気持ちが沸き上がってきました。「さっき、何が起こったんの?」自分に問いかけました。体を見ると、大怪我をしないが、所々に青あざがあります…

สิ่งที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติม
1. เวลาเขียนประโยคยาวๆโดยใช้รูปようที่แปลว่าเหมือนควรเติมかเข้าไปหน้าよう
เช่น 死亡者の顔と私の顔は同じ人であるかのように似ています。
2. กริยาที่ใช้เวลาทำเพียงสั้นๆไม่ควรใช้รู้ていく、てくる เช่น 気づく
3. はจะไม่ใช่ในประโยคที่ไม่ใช่ประโยคสำคัญแต่เป็นเพียงประโยคเสริม เช่น
これからどうしようと思った時、.....................に気付きました。
ในประโยคนี้ควรใช้がมากกว่า เพราะประโยคหลักจริงๆคือประโยคข้างหลัง
4. こうใช้บอกสิ่งที่อยู่ข้างหน้า そうใช้บอกสิ่งที่อยู่ข้างหลัง




 



2 ความคิดเห็น:

  1. โอ้โห สรุปเทคนิคได้ชัดเจนมาก!ดีค่ะ

    ตอบลบ
  2. だいぶ前のタスクですが・・・
    簡潔な日本語で、無駄がなく伝えようとしているのがいいですね。「犬の逆の方向に」だと、犬からどんどん離れていくようにイメージしてしまうので、この部分を工夫できるともっとよくなると思います。

    ตอบลบ

before & after のあいづち

สวัสดีค่ะทุกคน นี่อาจเป็นการอัพบล็อคครั้งสุดท้ายแล้วนะคะ เพราะฤดูสอบปลายภาคได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว  ที่ผ่านมาจะเห็นว่าเราอัพเรื่องあいづちไป ซึ่งอาท...